วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

จะกินดื่มอะไรถ้าไม่ได้ดื่มนมวัว



จะกินดื่มอะไร ถ้าไม่ให้ดื่มนม(วัว)
มีคนถามว่า ถ้าการดื่มนมวัวน่าจะเกิดโทษมากกว่าเกิดประโยชน์ ถ้าเช่นนั้นเราจะกินดื่มอะไรกันดี

เด็ก นมแม่มีประโยชน์ที่สุด การเข้ามาของผลิตภัณฑ์นม ทำให้แม่ลดการให้นมลูกเองเหลือเพียง 4 % กรณีที่แม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน แม่สามารถกลับมาป้อนนมได้ในตอนเย็นและค่ำ หลังจากนั้นปั๊มน้ำนมเก็บใส่ตู้เย็นไว้ เพื่อให้คนที่บ้านป้อนเด็กในตอนกลางวัน

การให้นมแม่ประหยัดเงินได้มาก ลูกมีภูมิต้านทานดี ไม่เจ็บป่วยง่าย เด็กที่เติบโตด้วยนมแม่จะอารมณ์ดี

นมวัวมีกรณีให้เลือกสถานเดียว คือกรณีที่แม่ไม่มีน้ำนมพอให้ลูก ก็อาจพิจารณาให้นมวัวที่ปรับสภาพให้ใกล้เคียงนมแม่ ให้ดื่มจนครบ 1 ขวบแล้วให้เลิกเสีย โดยให้กินอาหารอย่างอื่นแทน อีกทางหนึ่งคือ ให้เลี้ยงลูกด้วยนมถั่วเหลือง โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีประวัติเป็นภูมิแพ้ ลูกจะมีโอกาสเกิดภูมิแพ้มากขึ้นถ้าให้ดื่มนมวัว
ส่วนเด็กเล็กและเด็กโตกินอาหารธรรมชาติ โดยไม่ต้องดื่มนม แต่ถ้ายังไม่สบายใจ พ่อแม่ก็อาจจะให้ลูกดื่มนมถั่วเหลือง ซึ่งก็มีโปรตีนใกล้เคียงกับนมวัว ถ้าจะเปรียบเทียบแหล่งโปรตีนแล้ว กินหมูกินไก่ก็ได้โปรตีนทั้งคุณภาพและปริมาณ
- นมวัว 1 แก้ว ให้โปรตีน 8.5 กรัม
- นมถั่วเหลือง 1 แก้ว ให้โปรตีน 7 กรัม
- น่องไก่ 1 ชิ้น ให้โปรตีน 18.8 กรัม

หญิงมีครรภ์ หญิงมีครรภ์ต้องการแคลอรี โปรตีน กรดไขมันจำเป็น แคลเซียม ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก วิตามินต่างๆ แต่คุณแม่ต้องรู้ว่าไม่ต้องการสารเหล่านี้เป็น 2 เท่า เพราะเด็กในครรภ์ตัวเล็กกว่าแม่ 15 เท่า ถ้าขืนกินเข้าไปแบบยัดทะนาน ก็รังแต่จะไปพอกพูนที่ตัวแม่ การดื่มนมอย่างมากมายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แม่อ้วนหลังคลอด

แคลอรีที่ดีต้องเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้องซึ่งจะใช้เป็นเรี่ยวแรงได้อย่างหมดจด
โปรตีน ถ้ากินไก่ ไข่ หมู กุ้ง ปลา ก็ได้โปรตีนเพียงพอ สามารถดื่มนมถั่วเหลือง และข้าวกล้องก็ให้โปรตีนด้วย
- เนื้อไก่ส่วนอก 1 ชิ้น (100 กรัม) ให้โปรตีน 11 กรัม
- ไข่ไก่ 1 ฟอง ให้โปรตีน 10 กรัม
- ปลา 1 ชิ้น (100 กรัม) ให้โปรตีน 21 กรัม
- หมูเนื้อแดง 1 ขีด ให้โปรตีน 14 กรัม
- เต้าหู้ 100 กรัม ให้โปรตีน 13.3 กรัม
- นมถั่วเหลือง 1 แก้ว ให้โปรตีน 7 กรัม
- ข้าวกล้อง 2 ทัพพี ให้โปรตีน 15.6 กรัม

แคลเซียม อาหารไทยมีแคลเซียมมากมายไม่ต้องพึ่งนมวัว เช่น กุ้งแห้ง กุ้งฝอย ปลากรอบ มีปริมาณแคลเซียมสูงกว่านม 13-23 เท่า ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์กินเต้าหู้วันละ 1 แผ่น กับกุ้งชุบแป้งทอดวันละ 1 ชิ้น เท่ากับได้ดื่มนมวันละ 2 แก้ว

ธาตุเหล็ก ใช้สร้างเม็ดเลือดแดง เราได้รับจากเนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง ถั่วงอก ผักบุ้ง ผักใบเขียว

กรดโฟลิก ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และสำคัญในการพัฒนาระบบประสาท มีมากในผักใบเขียว แคนตาลูป แครอท ตับ ไข่แดง ฟักทอง ถั่วต่างๆ

วิตามิน เกลือแร่ และสารผัก ช่วยจรรโลงขบวนการเคมีทั้งในแม่และทารก ช่วยเสริมภูมิต้านทาน เป็นฮอร์โมนเสริมสำหรับบำรุงครรภ์ มีในผักสด ผลไม้ต่างๆ ต้องรู้จักกินผักให้หลากหลาย ผักพื้นบ้าน เครื่องแกง เครื่องสมุนไพรต่างๆ

กรดไขมันจำเป็น ช่วยเสริมระบบฮอร์โมน ระบบสืบพันธุ์ให้ทำงานดี ทำให้ผิวพรรณผ่องใส มีอยู่ในน้ำมันปลา น้ำมันดอกพริมโรส น้ำมันเมล็ดฝ้าย

ถ้าคุณแม่ต้องการดื่มนม ให้ดื่มนมถั่วเหลือง พร้อมโรยงาดำคั่ว วันละ 1-2 แก้ว ก็จะได้ทั้งโปรตีนและแคลเซียมเพียบพร้อม

สตรีวัยทอง และผู้สูงอายุ ประเด็นที่สตรีวัยทองและผู้สูงอายุเสี่ยงต่อโรคกระดูกผุ เป็นจุดขายของผลิตภัณฑ์นมแคลเซียมสูง สำหรับอาหารไทยเรามีแคลเซียมอยู่มากมายดังในตาราง
ในอาหาร กับ ในนมวัว
(มก.ต่อน้ำหนัก 100 กรัม)
ประเภทอาหาร
ปริมาณแคลเซียม
ประเภทอาหาร
ปริมาณแคลเซียม
ปลาร้าผง
กุ้งแห้งตัวเล็ก
กะปิเคย
งาดำคั่ว
กุ้งฝอยน้ำจืด
ถั่วแดงหลวง
ใบชะพลู
มะขามฝักสด
2,392
2,305
1,565
1,452
1,339
956
601
429
แคยอดอ่อน
ผักกระเฉด
สะเดายอดอ่อน
เม็ดบัวดิบ
ถั่วเน่าแห้ง
เต้าหู้ขาวอ่อน
ผักคะน้า
ถั่วเหลือง
ปลาไส้ตัน      
395
387
354
335
292
250
245
245
218
นมวัวสด
118
นมผสมแคลเซียม
        160          

จะเห็นได้ว่าถ้าขยันกินอาหารไทยๆ จะไม่ขาดแคลเซียมทั้งคนทั่วไป และผู้สูงอายุเลิกดื่มนม(วัว)เสียแต่วันนี้ ร่างกายแข็งแรง ไร้โรคภัยแน่นอน

คอลลาเจนกับกระดูกและข้อ


 คอลลาเจนคืออะไร
          คอลลาเจน เป็นโปรตีนธรรมชาติที่พบมากในผิวหนังและกระดูกของสิ่งมีชีวิต ลักษณะเป็นโครงสร้างตาข่าย
หนาแน่นขนาดเล็กมาก เป็นโครงสร้างหลักของผิวหนังและกระดูก โครงสร้างเหล่านี้จะค่อย ๆ เสื่อมสลายเองตาม
อายุที่มาก (25 ปีขึ้นไป) โดยทั่วไปคอลลาเจนจะไม่สามารถรับประทานโดยตรงได้เพราะมีขนาดและความหนาแน่น
สูงมาก ดูดซึมได้ยาก จึงจำเป็นต้องผ่านกระบวนการแปรรูปให้มีขนาดเล็กเพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ง่าย
เมื่อร่างกายขาดคอลลาเจนจะมีผลกระทบอย่างไร
          ผิวหนัง  -  แห้งกร้าน, ตกกระ, ฝ้า, ริ้วรอยเหี่ยวย่น
          กระดูก  -  กระดูกพรุน กระดูกข้อต่อเสื่อม เช่น ข้อเข่าเสื่อม หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ปวดหลัง ปวดเอว
ทำไมคอลลาเจนถึงช่วยฟื้นฟูข้อต่อต่าง ๆ ได้
           คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่ประกอบไปด้วยกรดอมิโนที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย 19 ชนิดจากทั้งหมด 20 ชนิด
และมีปริมาณ Glycine และ Protine สูงมากทำให้สามารถกระตุ้นการสรางเนื้อเยื่อข้อเข่าได้
รับประทานคอลลาเจนแล้วมีผลข้างเคียงหรือไม่
          คอลลาเจนเป็นอาหารเสริมที่มีความปลอดภัยสูงมาก ๆ  มีแต่โปรตีนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีไขมัน ไม่มี
น้ำตาล ไม่มีคาร์โบไฮเดรต โดยองค์การอนามัยโลก และองค์กรอาหารและยาของประเทศเยอรมันให้การรับรองถึง
ความปลอดภัยระดับสูงสุด
ผลการวิจัย
-          ผลการวิจัยจาก Tuffs Medical Center และ  Harvard Medical School  พบว่า
คอลลาเจน สามารถฟื้นฟูข้อเข่าได้
-           Collagen Research Institute n Kiel, Germany  พบว่าการรับประทานคอลลาเจน
สามารถทำให้เพิ่มมวลข้อเข่าขึ้นได้ เมื่อเทียบกับการไม่ได้รับประทานคอลลาเจน
-          การวิจัยจากหลายสถาบันพบว่า คอลลาเจนสามารถลดอาการเจ็บปวดของโรคข้อเสื่อมได้

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

การรักษาภูมิแพ้โดยใช้ธรรมชาติบำบัด


    การรักษาภูมิแพ้ในทางธรรมชาติบำบัด



  
                     
          การรักษาในแนวธรรมชาติบำบัดนั้นมองแบบองค์รวมในการรักษาภูมิแพ้ สิ่งที่ควรต้องปรับจะยึดหลักให้สอดคล้องการดำเนินชีวิตประจำวัน เริ่มตั้งแต่การกินที่ถูกต้อง และต้อง หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ รวมถึงการล้างพิษที่ถูกวิธี การได้       วิตามินเสริมเพื่อบรรเทาอาการภูมิแพ้ตามความจำเป็น การนอนพักผ่อนที่เพียงพอก็เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการรักษาสุขภาพถ้าปฏิบัติเช่นนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรมีการรักษาเพิ่มเติม เช่น การฝังเข็มรักษาภูมิแพ้ การได้วิตามินระดับสูงทางเส้นเลือด หรือแม้กระทั่งการจัดการกับความเครียดเพื่อการพักผ่อนที่มีประสิทธิภาพ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน ก็ทำให้อาการภูมิแพ้ดีขึ้นได้

โดยมีขั้นตอนการรักษาแบ่งเป็นหลายระดับ ดังนี้

1. รักษาโดยการปรับอาหาร ปรับพฤติกรรมและให้วิตามินแบบรับประทาน
2. ตามข้อ 1 + การสวนกาแฟ
3. ตามข้อ 2 + การให้วิตามินซีระดับสูงทางเส้นเลือดดำ และการฝังเข็ม


โดยมีหลักการการคัดเลือกผู้ป่วยคือ

1. เป็นโรคภูมิแพ้อากาศ อย่างเดียว และหรือร่วมกับอาการไซนัสอักเสบ หรือ ลมพิษ
2.มาติดตามการรักษาสม่ำเสมอ จนจบการรักษา ครบ 10 ครั้ง
3. ไม่มีภาวะแทรกซ้อนด้วยโรคอื่น เช่น มะเร็ง , ไตวายเรื้อรัง , โรคตับเรื้อรัง.


มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ทั้งหมดจำนวน 40 คน แบ่งผลการรักษาได้เป็น

1. ผู้ป่วยที่ตอบสนองดีมากต่อการรักษา (A) จำนวน 14 คน (35%)
2. ผู้ป่วยที่ตอบสนองดีต่อการรักษา (B) จำนวน 13 คน (32.5%)
3. ผู้ป่วยที่ตอบสนองพอใช้ต่อการรักษา (C)จำนวน 4 คน (10%)
4. ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา (D) จำนวน 9 คน (22.5%)

สรุปโดยรวมว่าการรักษาในแนวธรรมชาติบำบัด น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาภูมิแพ้ให้มีอาการน้อยลงและคุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีข้อสังเกตว่ามีผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่สามารถที่จะปรับแนวทางการบริโภค ปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ก็ไม่ตอบสนองต่อการรักษาได้เช่นกัน








ควมสำคัญของแมกนีเซียม

    แมกนีเซียมคืออะไร

แมกนีเซียม เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ (Mineral) ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มเกลือแร่ที่มีมากในร่างกาย  ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในโครงสร้างกระดูกมีธาตุ แมกนีเซียเป็นองค์ประกอบประมาณ 25 กรัม หรืออาจมากกว่านี้ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ กล้ามเนื้อ สมองและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ แมกนีเซียม ส่วนใหญ่ในร่างกาย (60-70%) พบในกระดูก ส่วนที่เหลืออีก 30% พบในเนื้อเยื่ออ่อนและของเหลวในร่างกาย แมกนีเซียม มักอยู่ในของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์  เช่นเดียวกับโพแทสเซียม ประมาณร้อยละ 35 ของแมกนีเซียมในเลือดจะรวมอยู่กับโปรตีน เด็กแรกเกิดมี แมกนีเซียม ต่ำ และเมื่อโตขึ้นจะมี แมกนีเซียม มากขึ้น


แมกนีเซียม เป็นโคแฟกเตอร์ (Co-factor) ที่สำคัญของเอ็นไซม์ในร่างกายไม่น้อยกว่า 300 ชนิด เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนต่างๆ ในร่างกาย และเป็นเกลือแร่ที่มีโอกาสขาดได้ง่ายรองจาก แคลเซียม หากร่างกายได้รับไม่เพียงพอจะมีโอกาสเป็น โรคหัวใจ มากขึ้น แมกนีเซียม ยังทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด เป็นต้น และมีหน้าที่สำคัญอีกอย่างคือเป็นตัวช่วยในการสะสม แคลเซียม เข้ากระดูก และลดความรุนแรงของ โรคหัวใจ วายเรื้อรัง
แต่เป็นที่น่าเสียดายที่มีน้อยคนมากๆ ที่จะได้รับ แมกนีเซียม อย่างเพียงพอต่อวันจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เนื่องจากอาหารที่ปรุงส่วนใหญ่จะมีแร่ธาตุนี้อยู่น้อย การรับยาบางชนิดก็ส่งผลให้เกิดขาดแร่ธาตุ แมกนีเซียม อีกทั้งโรคบางชนิดเช่น เบาหวาน โรคติดเหล้า ก็ส่งผลให้เกิดการขาดแร่ธาตุ แมกนีเซียม ได้เช่นกัน
ดังนั้นการรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมก็จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าร่างกายได้รับ แมกนีเซียม อย่างเพียงพอ ซึ่งเราจะพบ แมกนีเซียม ในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น แมกนีเซียมซิเตรด แมกนีเซียมแอสพาเตรด แมกนีเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมกลูคอเนต แมกนีเซียมออกไซต์ และแมกนีเซียมซัลเฟต

แมกนีเซียม เปรียบเสมือนคนงานที่ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพียงเพื่อจะสังเคราะห์โปรตีนให้ร่างกาย และเป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในร่างกายที่จะทำงานร่วมกับ แคลเซียม อันเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกาย แมกนีเซียม ยังช่วยให้การผลิตฮอร์โมนต่างๆ เป็นปกติ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและเซลล์ต่างๆ มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยหน้าที่และประโยชน์ของ แมกนีเซียม มีดังนี้

1. มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับ แคลเซียม โดยจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณทางประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ
2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการเผาผลาญสารอาหาร และการสังเคราะห์โปรตีน
3. ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต้านทานความหนาว ในที่อากาศเย็น ความต้องการแมกนีเซียมจะสูงขึ้น
4. จำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูกและฟัน
5. สำคัญในการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ของวิตามิน บี ซี และ อี
6. จำเป็นสำหรับการเผาผลาญแคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม
7. อาจป้องกันโรคทางหลอดเลือดหัวใจ โดยจะไปลดความดันเลือดลง และป้องกันการเกาะของโคเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
8. ช่วยในการควบคุมสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย
9. อาจทำแมกนีเซียมคืออะไร
แมกนีเซียม เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ (Mineral) ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มเกลือแร่ที่มีมากในร่างกาย  ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในโครงสร้างกระดูกมีธาตุ แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบประมาณ 25 กรัม หรืออาจมากกว่านี้ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ กล้ามเนื้อ สมองและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ แมกนีเซียม ส่วนใหญ่ในร่างกาย (60-70%) พบในกระดูก ส่วนที่เหลืออีก 30% พบในเนื้อเยื่ออ่อนและของเหลวในร่างกาย แมกนีเซียม มักอยู่ในของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์  เช่นเดียวกับโพแทสเซียม ประมาณร้อยละ 35 ของแมกนีเซียมในเลือดจะรวมอยู่กับโปรตีน เด็กแรกเกิดมี แมกนีเซียม ต่ำ และเมื่อโตขึ้นจะมี แมกนีเซียม มากขึ้น

แมกนีเซียม เป็นโคแฟกเตอร์ (Co-factor) ที่สำคัญของเอ็นไซม์ในร่างกายไม่น้อยกว่า 300 ชนิด เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนต่างๆ ในร่างกาย และเป็นเกลือแร่ที่มีโอกาสขาดได้ง่ายรองจาก แคลเซียม หากร่างกายได้รับไม่เพียงพอจะมีโอกาสเป็น โรคหัวใจ มากขึ้น แมกนีเซียม ยังทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด เป็นต้น และมีหน้าที่สำคัญอีกอย่างคือเป็นตัวช่วยในการสะสม แคลเซียม เข้ากระดูก และลดความรุนแรงของ โรคหัวใจ วายเรื้อรัง

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่มีน้อยคนมากๆ ที่จะได้รับ แมกนีเซียม อย่างเพียงพอต่อวันจากอาหารที่รับประทานเข้าไป เนื่องจากอาหารที่ปรุงส่วนใหญ่จะมีแร่ธาตุนี้อยู่น้อย การรับยาบางชนิดก็ส่งผลให้เกิดขาดแร่ธาตุ แมกนีเซียม อีกทั้งโรคบางชนิดเช่น เบาหวาน โรคติดเหล้า ก็ส่งผลให้เกิดการขาดแร่ธาตุ แมกนีเซียม ได้เช่นกัน

ดังนั้นการรับประทานในรูปแบบอาหารเสริมก็จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าร่างกายได้รับ แมกนีเซียม อย่างเพียงพอ ซึ่งเราจะพบ แมกนีเซียม ในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น แมกนีเซียมซิเตรด แมกนีเซียมแอสพาเตรด แมกนีเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมกลูคอเนต แมกนีเซียมออกไซต์ และแมกนีเซียมซัลเฟต

หน้าที่และประโยชน์
แมกนีเซียม เปรียบเสมือนคนงานที่ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพียงเพื่อจะสังเคราะห์โปรตีนให้ร่างกาย และเป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในร่างกายที่จะทำงานร่วมกับ แคลเซียม อันเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกาย แมกนีเซียม ยังช่วยให้การผลิตฮอร์โมนต่างๆ เป็นปกติ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อและเซลล์ต่างๆ มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยหน้าที่และประโยชน์ของ แมกนีเซียม มีดังนี้

1. มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับ แคลเซียม โดยจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณทางประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ
2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการเผาผลาญสารอาหาร และการสังเคราะห์โปรตีน
3. ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย มีส่วนเกี่ยวข้องกับการต้านทานความหนาว ในที่อากาศเย็น ความต้องการแมกนีเซียมจะสูงขึ้น
4. จำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูกและฟัน
5. สำคัญในการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ของวิตามิน บี ซี และ อี
6. จำเป็นสำหรับการเผาผลาญแคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม
7. อาจป้องกันโรคทางหลอดเลือดหัวใจ โดยจะไปลดความดันเลือดลง และป้องกันการเกาะของโคเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดง ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
หน้าที่เป็นตัวยาสงบประสาทตามธรรมชาติ ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน และลดความถี่ในการเกิดได้ ลดอาการซึมเศร้า และช่วยให้นอนหลับโดยเป็นตัวที่ช่วยในการสร้างสารเมลาโตนิน
10.ป้องกันไม่ให้ แคลเซียม จับตัวอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ไต 
11.จำเป็นต่อการรวมตัวของ parathyroid hormone ซึ่งมีบทบาทในการดึงเอาแคลเซียมออกจากกระดูก
12.ป้องกันการแข็งตัวของเลือด
13.ลดอาการปวดเค้นหน้าอกในผู้ป่วย โรคหัวใจ
14.ป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
15.บรรเทาและป้องกัน อาการปวดประจำเดือนโดยการคลายกล้ามเนื้อมดลูก
16.การรับประทา นแมกนีเซียม จะช่วยลดการเกิดตะคริวในหญิงมีครรภ์ที่มีระดับของ แมกนีเซียม ต่ำได้
17.ช่วยป้องกันการเกิดอาการ ไมเกรน คนที่มีปัญหาโรค ไมเกรน มักจะมีปริมาณ แมกนีเซียม ในเลือดต่ำ
18.ช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด 

อย่างที่เราทราบหากเราลดความดันลงมา ความเสี่ยงต่ออาการหัวใจกำเริบหรืออาการหัวใจวายก็จะลดลงไปด้วย แมกนีเซียมจะไปช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจคลายตัวลงร่วมกับมันยังไปช่วยปรับสมดุลของโปตัสเซียมกับโซเดียมในเลือดให้สมดุล ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงตามไปด้วย มีการศึกษาเมื่อไม่นานนี้เองในชายหญิงจำนวน 60 คนที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง พบว่าแมกนีเซียมทำให้ทั้งความดัน Systolic และ Diastolic ลดลง ทั้งนี้โดยปกติ การ

รับประทานควบคู่กับ แคลเซียม เพื่อประโยชน์ในการควบคุมความดันโลหิต แมกนีเซียม ป้องกัน แคลเซียม จับตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือดจึงป้องกันอาการหลอดเลือดแข็งตัว รักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติ 


การที่กล้ามเนื้อหดตัวเป็นผลมาจาก แคลเซียม เข้าไปอยู่ภายในเซลล์กล้ามเนื้อ เนื่องจากมีความเครียดเข้ามากระตุ้น และตัวที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวของ แคลเซียม นี้ก็คือ แมกนีเซียม เมื่อ แมกนีเซียม ไม่พอ แคลเซียม จะไหลเข้าไปในเซลล์กล้ามเนื้อมากเกินไป จนเป็นเหตุให้การหดตัวของกล้ามเนื้อไม่ปกติ เกิดอาการสั่น เป็นตะคริว หากผนังหลอดเลือดเกิดเป็นตะคริว จะทำให้เกิดโรคหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจแข็งตัว เป็นต้น 

แมกนีเซียม จะช่วยในการสร้าง วิตามินดี ในรูปแบบที่ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในการสร้างเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน ทำให้กระดูกและฟันมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น จึงช่วยทำให้ขยายระยะเวลาในการเสื่อมของกระดูกให้ยืดนานออกไป

แคลเซียม vs. แมกนีเซียม
หน้าที่ของ แมกนีเซียม ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเป็นตะคริว คือ แมกนีเซียม

มีส่วนควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับ แคลเซียม โดยจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณทางประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวหลังจากการหดตัว การที่กล้ามเนื้อหดตัวเป็นผลมาจาก แคลเซียม เข้าไปอยู่ภายในเซลล์กล้ามเนื้อ เนื่องจากมีความเครียดเข้ามากระตุ้น และตัวที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวของ แคลเซียม นี้ก็คือ แมกนีเซียม เมื่อ แมกนีเซียมไม่พอ แคลเซียม จะไหลเข้าไปในเซลล์กล้ามเนื้อมากเกินไป จนเป็นเหตุให้การหดตัวของกล้ามเนื้อไม่ปกติ เกิดอาการสั่น ถ้าขาดมากๆ กล้ามเนื้อจะหดเกร็งอย่างรุนแรง และเป็นตะคริวได้ ด้านอารมณ์จะรู้สึกหงุดหงิด สับสน ตื่นเต้นง่าย หากผนังหลอดเลือดเกิดเป็นตะคริว จะทำให้เกิดโรคหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจแข็งตัว เป็นต้น แมกนีเซียมป้องกันแคลเซียมจับตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือดจึงป้องกันอาการหลอดเลือดแข็งตัว รักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติ


ในโลกของแร่ธาตุตามธรรมชาติ แคลเซียม และ แมกนีเซียม ต้องทำหน้าที่ร่วมกันโดยจะแยกออกจากกันมิได้ แมกนีเซียม ช่วยร่างกายในการดูดซึม แคลเซียม และ แคลเซียม ก็มีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงต่อร่างกายในการย่อยสลาย แมกนีเซียม แคลเซียม นั้นไม่เพียงแต่ทำหน้าที่สร้างเสริมกระดูกให้แข็งแรงเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันภาวะกระดูกเปราะ กระดูกพรุน และยังช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตบำรุง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ ป้องกันการหดตัวของกล้ามเนื้อและกระบวนการการทำงานของอวัยวะที่สำคัญอื่นๆของร่างกาย ในขณะที่ แมกนีเซียม จะช่วย แคลเซียม สร้างเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูก ควบคุมการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อให้อยู่ในระดับปกติ ป้องกันการเป็นตะคริว กระตุ้นระบบประสาทควบคุมการใช้น้ำตาลของร่างกาย รวมถึงช่วยให้ร่างกายผลิตโปรตีนอันเป็นปัจจัยสำคัญในการบำรุงกล้ามเนื้อ และเซลล์ต่างๆ นอกจากนั้นยังควบคุมมิให้ระบบการหดตัวของหลอดเลือดทำงานผิดปกติทำให้เลือดในหลอดเลือดไหลได้สะดวก และหากสาเหตุของการเป็นตะคริวเกิดจากภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือสตรีมีครรภ์ที่มีระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำ และควรจะบริโภค แคลเซียม เสริม ก็ควรจะบริโภค แมกนีเซียม เสริมด้วย เนื่องจาก แคลเซียม และ แมกนีเซียม จำเป็นต้องทำงานร่วมกัน

ในการรับประทาน แมกนีเซียม ควรควบคุมปริมาณของ แคลเซียม ควบคู่ไปด้วย โดยอัตราส่วนของ แคลเซียม ต่อ แมกนีเซียม ในอุดมคติ ได้แก่ 2 ต่อ 1 ถึง 3 ต่อ 1 ปริมาณ แคลเซียม ที่ได้รับต่อวัน ควรจะอยู่ประมาณ 600 มก. แมกนีเซียม 300 มก. แต่ในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่ได้รับ แมกนีเซียม เพียง 150-300 มก. ในขณะที่ แคลเซียม มีผู้หันมาบริโภคมากขึ้นเพื่อป้องกันโรคกระดูก ในผู้สูงอายุนั้นควรใส่ใจกับปริมาณของ แมกนีเซียม ด้วยเช่นกัน ผู้ดื่มนมในปริมาณมาก ควรหันมาบริโภค แมกนีเซียม ให้มากขึ้น หากได้รับ แคลเซียม มากเกินไป จะไปขัดขวางการดูดซึม แมกนีเซียม ในร่างกาย

สาเหตุหนึ่งของการเกิดตะคริว ได้แก่ การที่ร่างกายเสียสมดุลระหว่างแร่ธาตุ แคลเซียม และ แมกนีเซียม และ/หรือ ขาด วิตามินอี ดังนั้นจึงควรจะรับประทาน แมกนีเซียม และ แคลเซียม ให้สมดุลกัน โดยอัตราส่วนของ แคลเซียม ต่อ แมกนีเซียม ในอุดมคติ ได้แก่ 2 ต่อ 1 ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยอาหารที่มี แคลเซียม มากได้แก่ นม ผักใบเขียว งา กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อยที่กินทั้งกระดูก เป็นต้น ส่วนอาหารที่มี แมกนีเซียม สูง ได้แก่ ผลไม้เปลือกแข็ง ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืช (เมล็ดข้าวที่ยังไม่ได้สี) และผักใบเขียว เป็นต้น

มาตรฐานกำหนด (ที่มา : http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/other/kbs3/min4.htm (อย.)) เด็กทารก ต้องการประมาณวันละ 50-70 มก. เด็กโต ต้องการประมาณวันละ 150-250 มก. ผู้ใหญ่ต้องการประมาณวันละ 350-450 มก. หญิงมีครรภ์และระยะให้นมบุตรประมาณวันละ 450-600 มก. อาหารทั่วไปที่มี แมกนีเซียม ประมาณ 300-800 มก. ก็จะเพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้

จากการทดลองกับสัตว์พบว่า ถ้าให้อาหารที่มี แมกนีเซียม ต่ำเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท กล้ามเนื้อ ไต หัวใจ และหลอดเลือด คนสูงอายุที่กินอาหารไม่มีแมกนีเซียมนาน 100 วันขึ้นไป มักแสดงอาการผิดปกติเกี่ยวกับการย่อยอาหาร และการทำงานของระบบประสาท อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบปัญหาการขาดแมกนีเซียมในคนปกติ ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีน และคนไข้ที่อดอาหารเป็นเวลานานหลังการผ่าตัดอาจมีอาการขาด แมกนีเซียม ได้ คนพวกนี้มักมี แมกนีเซียม ในเลือดต่ำ และมีอาการชักคล้ายการขาด แคลเซียม (แคลเซียม ในเลือดมักต่ำด้วย)
การขาด แมกนีเซียม จะมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายต่ำลง ระบบกล้ามเนื้อและระบบการย่อยอาหารจะทำงานผิดปกติ ระบบประสาทจะถูกทำลาย และประสาทรับรู้อาการเจ็บปวดจะไวขึ้น กระดูกอ่อนจนร่างกายรับน้ำหนักไม่ไหว และร่ายกายจะสร้างโปรตีนทดแทนไม่ได้ตามปกติ นอกจากนี้การขาด แมกนีเซียม จะทำให้ร่างกายเก็บสะสมพลังงานไว้ไม่ได้ สังเคราะห์ฮอร์โมนเพศไม่ได้ เลือดแข็งตัวช้า

สาเหตุของการขาดแมกนีเซียม
ความเครียดทำให้ แมกนีเซียม ถูกใช้มากขึ้นหลายเท่า เนื้อและอาหารที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่ง น้ำอัดลม ล้วนแต่มีส่วนผสมของฟอสฟอรัสมากซึ่งจะไปขัดขวางการดูดซึม แมกนีเซียม การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การใช้ยาขับปัสสาวะก็มีส่วนทำให้ขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน รวมทั้งผู้ที่เป็นโรค เบาหวาน มีโอกาสขาด แมกนีเซียม ได้ง่าย

การดูดซึมจะถูกควบคุมด้วยพาราธัยรอยด์ ฮอร์โมน และจำนวนของ แคลเซียม และฟอสฟอรัสในอาหาร กรดไฟติกที่พบในข้าวอาจป้องกันการดูดซึมของ แมกนีเซียม อัลโดสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนหลั่งจากต่อมแอดรีนัลจะคอยควบคุมจำนวนของ แมกนีเซียม ที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ยาขับปัสสาวะและการดื่มเหล้าจะเพิ่มจำนวนของ แมกนีเซียม ที่สูญเสียไปทางปัสสาวะ การได้รับฟลูออไรด์หรือสังกะสีปริมาณมากๆ จะไปเพิ่มการขับถ่าย แมกนีเซียม ทางปัสสาวะให้มากขึ้นเช่นกัน

ขณะนี้ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับโทษของการรับประทาน แมกนีเซียม มากไป มีผู้รายงานว่าอาหารที่มี แมกนีเซียม สูงอาจช่วยป้องกัน โรคหัวใจ และหลอดเลือดตีบได้

ในกรณีปกติหากได้รับ แมกนีเซียม มากเกินไป ไตจะทำการขับออกนอกร่างกาย แต่ในคนที่เป็นโรคไต แมกนีเซียม ที่มากเกินไปอาจไม่ถูกขับออกมาอย่างพอเพียง จึงทำให้เกิดอาการเป็นพิษ คือ ท้องร่วง และอัตราส่วนของ แคลเซียม-แมกนีเซียม ไม่สมดุล เป็นผลให้เกิดการซึมเศร้าเนื่องจากระบบประสาทกลาง

แนะนำให้รับประทาน แมกนีเซียม เป็นอาหารเสริมประมาณวันละ 300 มก. และควรรับประทาน แมกนีเซียม ที่ไม่มีผลทำให้เกิดอาการถ่ายเหลว เช่น แมกนีเซียม ออกไซด์ และ แมกนีเซียม ฟอสเฟต ซึ่งร่างกายจะได้รับธาตุฟอสฟอรัส ช่วยในการสร้างความหนาแน่นของกระดูก

ข้อควรระวังในการรับประทาน แมกนีเซียม คือ ควรควบคุมปริมาณของ แคลเซียม ควบคู่ไปด้วย โดยอัตราส่วนของ แคลเซียม ต่อ แมกนีเซียม ในอุดมคติ ได้แก่ 2 ต่อ 1 ถึง 3 ต่อ 1 ปริมาณ แคลเซียม ที่ได้รับต่อวัน ควรจะอยู่ประมาณ 600 มก. แมกนีเซียม 300 มก. แต่ในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่ได้รับ แมกนีเซียม เพียง 150-300 มก. ในขณะที่ แคลเซียม มีผู้หันมาบริโภคมากขึ้นเพื่อป้องกันโรคกระดูก ในผู้สูงอายุนั้นควรใส่ใจกับปริมาณของ แมกนีเซียม ด้วยเช่นกัน ผู้ดื่มนมในปริมาณมาก ควรหันมาบริโภค แมกนีเซียม ให้มากขึ้น หากได้รับ แคลเซียม มากเกินไป จะไปขัดขวางการดูดซึม แมกนีเซียม ในร่างกาย


ผู้มีความเครียดสูง 

ผู้ที่มือเท้าชาบ่อยๆ หรือเป็นตะคริวบ่อยๆ 

ผู้ที่เป็นโรคลมบ้าหมู (ควรปรึกษาแพทย์)

ผู้ที่ทานนม อาหารปรุงแต่ง น้ำอัดลม เหล้า ในปริมาณมาก 

ผู้ป่วยที่ทานยาขับปัสสาวะ 

ผู้ที่ต้องการป้องกันตนเองจากความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ นิ่วในไต โรคกระดูก osteoporosis

ผู้สูงอายุ เพื่อบำรุงร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเสริมสร้างกระดูก